กรมชลประทาน – เปิดรับสมัครวิศวกรชลประทาน

วิศวกรชลประทาน วิชาชีพเฉพาะ กรมชลประทาน เงินเดือน: 19,500 | สมัคร: วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 - วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

กรมชลประทาน เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับราชการ

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร: วิศวกรชลประทาน

         

หน่วยงาน: กรมชลประทาน

ประเภทตำแหน่ง: พนักงานราชการ

ระดับตำแหน่ง: วิชาชีพเฉพาะ

จำนวนที่รับ: 11 อัตรา

อัตราเงินเดือน: 19,500


คุณสมบัติและรายละเอียดการรับสมัคร

ปริญญาตรี 1. ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางวิศวกรรมการเกษตร ทางวิศวกรรมทรัพยากรน้ำทางวิศวกรรมโยธา ทรัพยากรน้ำ ทางวิศวกรรมโยธา ชลประทาน ทางวิศวกรรมแหล่งน้ำ และ 2. ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด (สาขาโยธา) (ภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นวันปิดรับสมัคร)

รายละเอียดลักษณะงาน:

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิศวกรรมชลประทาน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้ 1.ศึกษาพื้นที่ พิจารณาโครงการ สำรวจ ออกแบบงานชลประทาน ประมาณราคา ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ระบบชลประทาน เขื่อน ฝาย อาคารชลประทานประกอบอื่น ๆ จัดสรรน้ำ เพื่อให้ได้งานชลประทานที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ 2.ศึกษาทดสอบ วิเคราะห์ และวิจัย สภาพน้ำ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยี การจัดการน้ำ บำรุงรักษา ระบบชลประทาน และการก่อสร้างเพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบประทานให้มีประสิทธิภาพ 3.ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาด้านการชลประทานและการมีส่วนร่วมขององค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่โครงการชลประทานและลุ่มน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้อย่างพอเพียง 4.รวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับงานชลประทาน หรือจัดทำฐานข้อมูล หรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมชลประทานเพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์มาตรการต่าง ๆ 5.ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานวิศวกรรมชลประทานในความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ 6.ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของข้าราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

เกณฑ์การประเมินผู้สมัคร:

– ความรู้ความสามารถการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งวิศวกรชลประทาน โดยวิธีสอบข้อเขียน ในเนื้อหาต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย วิชาหลักการชลประทาน และงานวางแผนและโครงการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ พืช การหาปริมาณการใช้น้ำของพืช การกำหนดการให้น้ำแก่พืช ประสิทธิภาพการชลประทาน การออกแบบระบบชลประทาน ความสำคัญของการวางโครงการ การวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการด้านต่าง ๆ การศึกษาผลกระทบของโครงการด้านต่าง ๆ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมชลประทาน งานหลักอุทกวิทยา และงานวิศวกรรมชลศาสตร์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝน และน้ำท่า การวิเคราะห์และออกแบบทางอุทกวิทยา การตรวจวัดทางอุทกวิทยา การไหลในท่อ การออกแบบอาคารทางชลศาสตร์ การระบายน้ำ วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน- ทักษะ- สมรรถนะการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและจากการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการอื่นใดเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ที่อาจใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อารมณ์ ทัศนคติ จรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความคิดสร้างสรรค์ ปฏิภาณ ไหวพริบ และบุคลิกภาพอย่างอื่น เป็นต้น รวมถึงสมรรถนะที่จำเป็นของตำแหน่ง วิธีการประเมิน : สอบสัมภาษณ์ 1.ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ หรือวิธีสอบปฏิบัติและสอบสัมภาษณ์ จะต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนในการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีสอบข้อเขียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 2.ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้ผ่านการเลือกสรรจะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนในการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 1 โดยวิธีสอบข้อเขียน และการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ หรือวิธีสอบปฏิบัติและ สอบสัมภาษณ์ แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 3.การทำสัญญาจ้างเป็นพนักงานราชการ จะเป็นไปตามลำดับที่ผ่านการเลือกสรร

ข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม:


ข่าวโดย:

กรมชลประทาน – วิศวกรชลประทาน