กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ – เปิดรับสมัครนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ (ปริญญาโท ด้านพิษวิทยา)

นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ (ปริญญาโท ด้านพิษวิทยา) วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เงินเดือน: 19,250 21,180 | สมัคร: วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 - วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2568

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับราชการ

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร: นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ (ปริญญาโท ด้านพิษวิทยา)

โดยวิธี : คัดเลือก

หน่วยงาน: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ประเภทตำแหน่ง: ข้าราชการ

ระดับตำแหน่ง: วิชาการ ระดับปฏิบัติการ

จำนวนที่รับ: 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน: 19,250 21,180


คุณสมบัติและรายละเอียดการรับสมัคร

ปริญญาโท ได้รับปริญญาโทหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางพิษวิทยา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางพิษวิทยา หรือสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางพิษวิทยา

รายละเอียดลักษณะงาน:

ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่จะต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และการปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้ 1. ด้านการปฏิบัติการ (1) ตรวจ วิเคราะห์ตัวอย่างทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ใช้วิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยีพื้นฐาน โดยการประกันคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุข และเป็นข้อมูลในการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนและเฝ้าระวังการระบาดของโรค การประเมินภาวะสุขภาพ คัดกรองสุขภาพ หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ ตลอดจนประกอบการพิจารณาทางอรรถคดี เพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคและสุขภาพของประชาชน (2) ร่วมวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้ได้องค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ การประเมินความเสี่ยง เตือนภัยสุขภาพ การตั้งเกณฑ์หรือปรับเปลี่ยนค่ามาตรฐานต่าง ๆ ของประเทศ และการป้องกัน วินิจฉัย รักษา พยากรณ์โรค สอบสวนโรค เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและสนับสนุนสุขภาวะของประชาชน (3) ร่วมดำเนินการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยพัฒนา ประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ และรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุน คุ้มครองสุขภาวะของประชาชน (4) งานประเมินความปลอดภัยอาหาร ได้แก่ อาหารใหม่ (novel food) อาหารที่ไม่เข้าข่ายอาหารใหม่ และวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) โดยนำความรู้ที่เกี่ยวข้องการศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลองและคลินิกในมนุษย์ คุณภาพมาตรฐานในการกำกับดูแลและรับรองความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการทดลอง เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการประเมินความปลอดภัย เช่น OECD GLP (Good Laboratory Practice) และความรู้อื่นๆที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบความครบถ้วน ความน่าเชื่อถือของข้อมูลวิชาการที่ยื่นโดยผู้ประกอบการ สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม รวมถึงศึกษาเอกสารข้อมูลทางวิชาการ จัดทำสรุปข้อมูลเบื้องต้น เพื่อจัดเตรียมจัดทำร่างรายงานฯ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะพิจารณาประเมินความปลอดภัย จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ และนำเสนอผลการประเมินความปลอดภัยต่อคณะอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (5) ร่วมดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับประเมินความเสี่ยงทางเคมีในอาหาร เพื่อจัดทำหรือปรับปรุงค่ากำหนดตามกฎหมายอาหารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (6) งานสื่อสารความเสี่ยงและแจ้งเตือนภัย เพื่อสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคและสุขภาพของประชาชน 2. ด้านการวางแผน (1) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด (2) จัดทำแผนการฝึกอบรมหรือสัมมนาวิชาการให้กับบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านพิษวิทยา 3. ด้านการประสานงาน (1) ประสานและคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะประเมินความปลอดภัย เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะผู้พิจารณาประเมินความปลอดภัย รวมทั้งจัดประชุมคณะผู้พิจารณาประเมินความปลอดภัย เพื่อให้ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะประเมินความปลอดภัย (1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด (2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย 4. ด้านการบริการ (1) ให้บริการคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพิษวิทยาแก่หน่วยงานต่างๆ และประชาชนในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากสารพิษที่ได้รับจากอาหาร (2) สนับสนุนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรือเทคโนโลยีแก่บุคคลภายในหน่วยงาน เพื่อให้มีความรู้ และให้สามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ (3) ให้บริการทางวิชาการ เช่น การจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ เอกสารสื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และความเข้าใจในระดับต่างๆ ในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (4) ร่วมปฏิบัติการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และองค์กร เพื่อให้เป็นบุคลกรที่มีความชำนาญและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5) นิเทศงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือด้านอื่นให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การประเมินผู้สมัคร:

ข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม:


ข่าวโดย:

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ – นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ (ปริญญาโท ด้านพิษวิทยา)